วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

วิจัยการเพื่อพัฒนาการอ่าน

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การพัฒนาการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1

ความสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้นักเรียนเกิดทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ การอ่าน การฟัง การพูด การเขียน โดยเฉพาะทักษะการอ่าน เป็นทักษะที่มีความสำคัญเพื่อใช้ในการสื่อสารและการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นต่อไป แต่จากการทดสอบของนักเรียนชั้น ป.3 โรงเรียนรวมไทยพัฒนา 5 จำนวน 10 คน จากนักเรียน 31 คน พบว่า นักเรียนมีพื้นฐานการอ่านสะกดคำที่ใช้ทั่วไปและคำศัพท์แตกต่างกันมาก และอ่านสะกดคำผิดเป็นส่วนมาก จึงควรหาทางพัฒนาให้นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำที่ใช้ทั่วไปและคำศัพท์ให้ถูกต้อง ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนจึงสนใจที่จะสร้างแบบฝึกการอ่านสะกดคำขึ้นเพื่อนำไปใช้พัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำอ่านและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกการอ่านสะกดคำ
มาตราตัวสะกดทั้ง 9 มาตรา
2. เพื่อให้นักเรียนอ่านออกเสียงคำในมาตราตัวสะกดได้ถูกต้องและชัดเจน
3. เพื่อฝึกทักษะกระบวนการอ่านออกเสียงจากชุดการพัฒนาการอ่าน
4. เพื่อศึกษาข้อมูลทักษะกระบวนการอ่าน

ตัวแปรที่ศึกษา
ในการวิจัยครั้งนี้ ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ให้เด็กนักเรียนฝึกอ่านจากชุดแบบฝึกอ่าน
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการอ่านสะกดคำ

กรอบแนวคิดในการวิจัย
แบบฝึกการอ่านสะกดคำ หมายถึง แบบฝึกการอ่านสะกดคำที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมา ให้เป็นระบบซึ่งประกอบด้วย คำศัพท์ที่รวบรวมจากคำศัพท์ที่นักเรียนมักอ่านสะกดคำผิดในแบบฝึกหัดภาษาไทย
ความสามารถในการอ่านสะกดคำ หมายถึง คะแนนที่ได้จากการอ่านแบบทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีความสามารถในการอ่านสะกดคำดีขึ้น
2. นักเรียนอ่านคำในภาษาไทยได้ถูกต้องมากขึ้น
3. นักเรียนมีแนวทางเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการอ่านภาษาไทยในเรื่องอื่นๆ ได้

ขอบเขตของการวิจัย
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 10 คน
2. แบบทดสอบคำในมาตราตัวสะกดทั้ง 9 มาตรา ช่วงชั้นที่ 1

วิธีดำเนินการวิจัย
1. ขั้นตอนการสร้างแบบฝึกการอ่านสะกดคำจากมาตราตัวสะกด ผู้วิจัยดำเนินการดังนี้
1.1 ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน
1.2 วิเคราะห์เนื้อหาและรวบรวมคำที่นักเรียนอ่านผิด
1.3 กำหนดโครงร่างของแบบฝึกหัดการอ่านสะกดคำในมาตราตัวสะกด
1.4 อ่านมาตราตัวสะกดต่างๆ ของแบบฝึกอ่านตามโครงร่าง
1.5 ให้เพื่อนครูในหมวดภาษาไทยตรวจสอบคุณภาพของแบบฝึก
1.6 ปรับปรุงแบบฝึกและจัดทำแบบฝึก
2. การใช้แบบฝึกและจัดทำแบบฝึก
2.1 ประชากรในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 10 คน ปีการศึกษา 2551 มีปัญหาการอ่านสะกดคำจากมาตราตัวสะกดไม่ถูกต้อง โดยศึกษากับประชากรทั้งหมด
2.2 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านมาตราตัวสะกดเป็นคำศัพท์จำนวนมาตราละ 50 คำ
เช้าก่อนเข้าเรียนและพักเที่ยง ในปีการศึกษา 2546
2.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยให้นักเรียนอ่านแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน จากแบบฝึกการอ่านสะกดคำในมาตราตัวสะกด
2.5 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน (X1) การทดสอบหลังเรียน (X2) คะแนนความก้าวหน้า (X1 – X2) ผลต่างของคะแนน คือ ค่า D

แผนปฏิบัติงานวิจัย

กิจกรรม
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
1. วิเคราะห์ปัญหาการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1
2. เขียนโครงการวิจัย
3. สร้างแบบฝึกการอ่านสะกดคำในมาตราตัวสะกด
4. สร้างแบบทดสอบ
5. ใช้แบบฝึกการอ่านมาตราตัวสะกด
6. เก็บรวบรวมข้อมูล
7. วิเคราะห์ข้อมูล
8. เขียนรายงานการวิจัย












สรุปผลการวิจัย
จากการได้ฝึกให้นักเรียนอ่านมาตราตัวสะกด ทั้ง 9 มาตราในครั้งที่ 1 นักเรียนอ่านได้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ก่อนการใช้แบบฝึกการอ่านได้คะแนนร้อยละ 65 ครูให้นักเรียนได้ฝึกอ่านคำที่นักเรียนยังอ่านไม่ได้ซ้ำอีก โดยให้กลับไปฝึกอ่านที่บ้านและให้เพื่อนที่อ่านออกช่วยในการฝึกอ่านหลายๆ ครั้ง ผลที่ได้นักเรียนอ่านได้ถูกต้องเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ครูกำหนด แสดงว่าการฝึกทักษะการอ่านโดยใช้แบบฝึกการอ่านทำให้นักเรียนทั้ง 10 คน มีทักษะในการอ่านคำในมาตราตัวสะกดทั้ง 9 มาตรา ดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: